โค๊ดต่างๆ

3animate 4animate 5animate 6animate 7animate 8animate 9animate 10 11animate 12animate 13animate

วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

ข้อมูลจังหวัด สุรินทร์

สุรินทร์ (ภาษากูย: เหมอง-สุลิน, เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น กูย กวย หรือ ส่วย ไทยอีสานหรือลาว เขมร หรือขะแมร์ มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้] ตราประจำจังหวัด Seal Surin.png คือ พระอินทร์ทรงประทับช้าง พระอินทร์ หมายถึงเทพเจ้าผู้ทรงเก่งกาจสามารถ ช้าง หมายถึงเมืองที่มีช้างอยู่มากมาย ปราสาทหิน คือปราสาทศีขรภูมิ ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกกันเกรา กันเกรา (Cochlospermum regium) ต้นไม้ประจำจังหวัด ต้นกันเกรา คำขวัญประจำจังหวัด; ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม — คำขวัญประจำจังหวัดสุรินทร์ ความหมายของคำขวัญ ถิ่นช้างใหญ่ หมายถึง สุรินทร์มีคชอาณาจักร (องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์: อสส.) และศูนย์คชศึกษาซึ่งมีช้างอยู่มาก เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ผ้าไหมงาม หมายถึง สุรินทร์มีการทอผ้าไหมที่ขึ้นชื่อในเรื่อการทอผ้าไหมปักทอง ที่สวยงามมากติด 1 ใน 10 เมืองทอผ้าไหมในประเทศไทยที่บ้านท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ ประคำสวย หมายถึง สุรินทร์มีการประคำเงินขึ้นชื่อ ที่อำเภอเขวาสินรินทร์ ร่ำรวยปราสาท หมายถึง สุรินทร์ มีปราสาทกระจายอยู่มากที่สุดในประเทศไทย และมีปราสาทที่อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยคือปราสาทภูมิโปน ผักกาดหวาน หมายถึง สุรินทร์มีการทำผักกาดดองที่หวานอร่อยขึ้นชื่อ ข้าวสารหอม หมายถึง สุรินทร์มีข้าวสารที่ปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และอร่อยหอมที่สุดในโลก งามพร้อมวัฒนธรรม หมายถึง ดูจากการเล่นสงกราณต์ของชาวสุรินทร์และงานประเพณีมากมาย อักษรย่อจังหวัด สร. ธงประจำจังหวัด ธงสีเขียว-เหลือง-แดง ตรงกลางมีตราประจำจังหวัดติดอยู่ สิ่งแวดล้อม[แก้] จังหวัดสุรินทร์ มีการพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีชุมชนเมือง (ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์) ที่อยู่อย่างแออัด มียานพาหนะมากส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจร โดยเฉพาะบริเวณตลาดสดในเขตเทศบาล และบริเวณสถานศึกษา มีผลกระทบทางด้านมลภาวะบ้าง แต่ไม่รุนแรงนัก ปัญหาขยะและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมมีค่อนข้างน้อย เพราะได้รับการเอาใจใส่ ดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ สภาพทางเศรษฐกิจ[แก้] จากรายงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2553 จังหวัดสุรินทร์ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ตามราคาประจำปี 55,529 ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์ต่อหัว (Per capita GPP) 38,681 บาท จัดเป็นอันดับที่ 73 ของประเทศ และเป็นอันดับที่ 16 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับอาชีพของประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ ยังคงประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม มีการทำนาข้าวเจ้า (ข้าวหอมมะลิ) ทำสวน และเพาะปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา อาชีพที่สำคัญรองลงมาคือ การปลูกหม่อนและเลี้ยงไหม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น