วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2560
อาหารพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์
หมาน้อย” อาหารพื้นบ้านอีสาน บ้านสนม ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์
“หมาน้อย” เป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสาน แถบภาคเหนือตอนบนเรียก “แอ่งแต๊ะ” วัตถุดิบที่ใช้ คือ ใบหมาน้อย หรือใบแอ่งแต๊ะ มีคุณสมบัติการเปลี่ยนรูปจากของเหลวเป็นวุ้นแต่ไม่ถึงกับแข็งเหมือนวุ้นทั่วไป แต่จะเป็นวุ้นแบบเด้งดึ๋งดั๋งไปมาเมื่อใช้ช้อนตักลงไปที่หมาน้อย
หมาน้อย เป็นพืชที่จัดอยู่ในประเภทสมุนไพร ชนิดยาเย็น ช่วยดับกระหายได้เป็นอย่างดี
0020-2
ต้นหมาน้อย
ต้นหมาน้อย จะมีลักษณะเครือยาว อาศัยต้นไม้ใหญ่ในการเลื้อยเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี ดังภาพบน และล่าง คือ เครือหมาน้อยอาศัยพี่เลี้ยงอย่างต้นมะม่วงช่วยในการเจริญเติบโต
0021
0022
ภาพบน และล่าง : ใบหมาน้อย มีรูปทรงลักษณะคล้ายใบโพธิ์ และบางกว่ามาก ทั้งด้านหน้า และด้านหลังของใบหมาน้อย มีขนเล็กๆ ให้ความรู้สึกนุ่มนิดๆ เมื่อสัมผัสเบาๆ
0023
หมาน้อย หน้าตาน่ารับประทาน
0037
อาหารพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์
4
สลอตราว
สลอตราว หรือแกงเผือก เป็นอาหารที่มีรสจืด นิยมใส่ปลาเป็นส่วนประกอบ อาจใช้รับประทานเปล่า ๆ คล้ายก๋วยเตี๋ยวก็ได้ ชาวเขมรและชาวกูย ที่มีฐานะ นิยมปรุงให้จืดเพื่อรับประทานเปล่า ๆ เผือกเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรทสูง ใช้รับประทานแทนข้าวได้ ปลาเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง
ซันลอเจก (แกงกล้วย)
06131120352136110561
ที่มาของอาหาร “ซันลอเจก” เป็นภาษาเขมร หมายถึง “แกงกล้วย” ซันลอ = แกง, เจก = กล้วย เนื่องจากเมื่อก่อน การคมนาคมขนส่งต่าง ๆ ยังไม่สะดวก อาหารการกินต่าง ๆ ล้วนหาได้จากเรือกสวน ไร่นา และรอบ ๆ บริเวณบ้าน เมื่อมีคนตายในหมู่บ้าน เจ้าของงานจะจัดหาอาหารต้อนรับผู้มาร่วมงานศพ ซึ่งมักจะทำแกงกล้วยเป็นอาหารหลัก เพราะบ้านเกือบทุกหลัง นิยมปลูกต้นกล้วย เพราะต้นกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ประเพณี/ความเชื่อ เป็นอาหารพื้นบ้าน รับประทานเป็นกับข้าว นิยมใช้เป็นอาหารเลี้ยงแขกที่ร่วมงานศพ เพราะเชื่อว่าเป็นการตัดสายสัมพันธ์ ระหว่างผู้ตายกับญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่ เครื่องปรุง/ส่วนผสม ๑. กล้วยน้ำหว้าดิบ ๗ ผล ๒. เนื้อไก่ ๕ ขีด ๓. มะพร้าว ๕ ขีด ๔. ใบแมงลัก ๕น ๕. ใบมะกรูด ๓ ใบ ๖. ใบชะอม ๗ ยอด ๗. ตะไคร้ ๒ ต้น ๘. ข่า ๓ แว่น ๙. หัวหอม ๕ หัว ๑๐. กระเทียม ๓ กลีบ ๑๑. พริกแห้ง ๕ เม็ด ๑๒. เกลือ ๑ ช้อนชา ๑๓. น้ำปลา ๑ ช้อนโต๊ะ ๑๔. น้ำตาลทราย ๑ ช้อนโต๊ะ ๑๕. ผิวมะกรูด ๑ ช้อนชา ๑๖. กะปิ หรือปลาร้า หรือปลาอินทรีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ขั้นตอน/วิธีทำ ๑. โขลกพริกแห้ง ข่า ตะไคร้ หัวหอม กระเทียม และเกลือ รวมกันให้ละเอียด ๒. หั่นไก่เป็นชิ้น ๆ ๓. ปอกเปลือกกล้วยน้ำหว้าดิบ หั่นตามยาว หรือหั่นเฉียง แช่ในน้ำมะหนาวหรือน้ำเกลือ เพื่อไม่ให้กล้วยที่ปอกแล้วมีสีดำ ๔. คั้นมะพร้าวให้ได้หัวกะทิ ๑ ถ้วย หางกะทิ ๓ ถ้วย นำหัวกะทิเคี่ยวให้แตกมัน ใส่พริกแห้งลงผัดให้หอม เติมหางกะทิ ๑ ถ้วย ใส่ไก่ลงผัด เติมน้ำกะทิที่เหลือ พอเดือดใส่กล้วย ปรุงรสด้วยน้ำตาล ปลาร้าหรือปลาอินทรีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ใส่ใบมะกรูด ใบแมงลัก ใบชะอม แล้วยกลงจาก
ไตรยอัง (ปลาปิ้ง)
06131111570436510561
รายละเอียด
เดือน ๖ ๗ ๘ ป็นช่วงฤดูฝน ในนามักจะมีปลาจำนวนมาก ชาวนาจะจับปลาที่มีขนาดใหญ่มาทำเป็นอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ในงานพิธี เช่นพระภูมิลงนา วิธีทำ ๑. ผ่าท้องควักไส้ปลาทิ้ง แล้วล้างให้สะอาด ๒. พอสะเด็ดน้ำ นำมาคลุกกับเกลือแล้วใช้ไม้หนีบ นำไปปิ้งจนสุก
คำสำคัญ
อาหารพื้นบ้านสุรินทร์ ปลาย่าง ปลาปิ้ง ไตรยอัง
หมวดหมู่
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สถานที่ตั้ง
ตลาดสดเทศบาลเมืองสุรินทร์, ตลาดสีเขียว อบจ.สุรินทร์
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตำราอาหารชาติพันธุ์ชาวไทยเขมรจังหวัดสุรินทร์
บุคคลอ้างอิง สมนึก รัตนกำเนิด
ชื่อที่ทำงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
เลขที่ ๑๘๖ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑ ถนน สุรินทร์-ปราสาท
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์
Cr : แหล่งที่มา http://nariniceice.blogspot.com/
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น